7/27/2553

วิธีแก้ ลูกเลือกกินอาหาร


วิธีแก้ ลูกเลือกกินอาหาร
เด็กเมื่อเติบโตถึงช่วงวัยหนึ่ง ความเป็นตัวตนของเขาจะมีมากขึ้น บางครั้งการปล่อยให้เด็กเลือกกินอาหาร
จะทำให้ลูกน้อยขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและพัฒนาการทางสมอง เพราะเด็กมีแนวโน้มที่จะเลือกกินแต่อาหารที่ไม่มีประโยชน์ ถ้าลูกน้อยเป็นเด็กช่างเลือก เรามีวิธีจัดการกับเรื่องนี้อย่างไร

1. ลองจัดรูปแบบอาหารให้หลากหลาย เมนูสำหรับเด็ก เช่น ต้ม นึ่ง ทอด ย่าง ผัด และทำให้มีรูปร่างลักษณะของอาหารให้น่าสนใจ อาจจะมีรูปทรงดึงดูดความสนใจของเด็ก เช่น รูปยาว กลม สี่เหลี่ยม เป็นต้น
2. พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องการกินอาหารที่ลูกไม่ยอมกิน อาจจะใช้วิธีกินด้วยกันกับลูก ชักชวนให้ลูกกิน โดยไม่มีการบังคับลูก หากพ่อแม่ยอมถูกหรือปล่อยเลยตามเลย ลูกก้จะติดนิสัยปฏิเสธอาหารที่มีประโยชน์เหล่านั้นเรื่อยไปจนโต
3. ทำให้เรื่องกินเป็นเรื่องสนุก ไม่ควรเร่งให้ลูกเสร็จเร็วๆ ไม่ควรให้ลูกกินมากๆ แต่ควรให้ลูกกินเพลินใจจะดีกว่า ปล่อยให้ลูกกินช้าๆ เล็มไปเรื่อยๆ
4. ถ้าลูกยืนกรานที่จะตักอาหารกินเอง ควรปล่อยให้ลูกพยายามใช้ช้อนตักอาหารด้วยตัวเอง ขอให้คิดเสมอว่า ถ้าอยากให้ลูกกินอาหารด้วยความชอบที่จะกิน และอยากให้ลูกกินอย่างมีอิสระ ต้องปล่อยให้ลูกทำเอง แม้ต้องเจอกับอาหารหกเลอะเทอะบ้างก็ตามเป็นเรื่องปกติของเด็กๆ
5. จัดอาหารให้มีลักษณะสีสันน่ากิน เพื่อดึงดูดความสนใจลูก บรรยากาศที่สงบและอบอุ่นก็มีส่วนช่วยให้การกินของลูกได้ง่ายขึ้น อาจจะลองจัดโต๊ะอาหารเป็นลายการ์ตูนน่ารักที่ลูกชอบ จะส่งผลให้ลูกรักสบายใจเวลากินอาหาร และกินได้มากขึ้น
6. ทำของกิน ให้ลูกจับกินได้ด้วยมือ จะทำให้เด็กสนใจในการกินอาหารมากขึ้น
7. สิ่งที่ควรรู้ คือ เด็กวัยนี้ส่วนมากชอบให้มีอาหารรูปแบบ ดิบ สุก (ผลไม้ ผัก )เปื่อยยุ่ยและเคี้ยวง่าย ทำให้อาหารบางอย่างหนึบหนับเคี้ยวสนุก
8. รสชาติของอาหารที่ลูกกินต้องไม่จัดจ้าน ควรปรุง ออกไปทางจืด หรือกลมกล่อม

วิธีสร้างนิสัยการกินที่ดีให้ลูก
1. แนะนำให้ลูกรู้จักอาหารใหม่ๆ ให้มากตั้งแต่ลูกยังเล็กโดยใช้ความพยายามโน้มน้าวใจลูกอย่างนุ่มนวล เพื่อให้ลูกชอบอาหารที่พ่อแม่ทำทุกอย่าง ลูกจะได้ไม่เป็นคนกินยากเกินไป
2. กระตุ้นให้ลูกลองกินอาหารใหม่ๆ โดยช่วงแรกอาจจะผสมปนไปกับอาหารที่ลูกคุ้นเคยก่อน ให้ลูกได้ทดลองกิน
3. คิดเสมอว่าไม่มีอาหารใดดีที่สุดอย่างเดียว อาหารทุกอย่างมีความสำคัญหมด ไม่ใช่ไข่ตุ๋นดีที่สุด ปลานึ่งดีที่สุด นั่นเป้นความคิดเห็นส่วนตัวของพ่อแม่ ลูกควรได้รับอาหารหลายอย่างชนิด เพื่อให้ได้คุณค่าครบถ้วนชึ่งจะทำให้ลูกเป็นเด็กที่มีนิสัยการกินที่ดีต่อไปในอนาคต
4. เด็กควรได้รับนมอย่างน้อยวันละ 1 แก้ว ถ้าลูกไม่ยอมดื่มนมเลย ควรให้ลูกกินนมแบบที่ผสมอยู่ในขนม หรืออาหารอื่น เช่น คุกกี้ เนย หรือน้ำซุป นิสัยชอบดื่มนมนี้ควรฝึกให้ลูกดื่มไปอีกเรื่อยๆ อย่างน้อยก็ถึงวัยรุ่นจึงจะดี เช่น เดียวกับการกินผักและผลไม้
5. ควรเลือกอาหารที่ดีต่อฟันของลูก อาหารที่ทำร้ายฟัน เช่น แป้ง น้ำตาล นมข้นหวาน ช็อกโกแลต โกโก้ น้ำหวาน น้ำผลไม้กล่องมักใส่น้ำตาลมากกว่าน้ำผลไม้คั้นสด ขนมปัง แยม เยลลี่ ไอศกรีม ขนมเค้ก คุกกี้ ลูกกวาด ลูกอม คาราเมล หรืออื่นๆ จะทำให้ฟันผุ ควรให้ลูกกินแต่น้อย และรีบแปรงฟันและบ้วนปากให้ลูกน้อยหลังจากกินอาหารเหล่านี้เสร็จ เพราะจะมีแป้งและน้ำตาล ติดตามบริเวณวอกฟันและผิวฟันของลูก และจะเปลี่ยนเป็นกรดทำลายผิวที่เคลือบฟัน เนื้อฟัน ทำให้ลูก ฟันเป็นรูและผุได้ง่าย

7/21/2553

เด็กวัย 14-15 เดือน


เด็กวัย 14-15 เดือน
พัฒนาการของเด็กช่วงวัย 14 เดือนนี้ เด็กเริ่มมีของชอบไม่ชอบ จะกินแต่อาหารที่ตัวเองชอบ
เพียงไม่กี่อย่าง อาหารที่ยังไม่เคยกินก็มักจะไม่ยอมลองกินและยืนกรานที่จะตักกินเอง อาจมีมื้อหนึ่งที่ลูกกินได้ดี และมื้อต่อไปกินได้มากขึ้น แต่พอมื้อที่ 3 กลับเมินหน้าหนี บางครั้งการช่วยเหลือ
ตัวเองของลูก เช่น การตักข้าวกินเองก็ทำให้เสื้อผ้าสกปรกเลอะเทอะ ไม่ควรแสดงท่าทางว่ารังเกียจความเลอะเทอะของลูกมากจนลูกเกิดความรู้สึกผิด กลายเป็นเรื่องปิดกั้นการเรียนรู้ของลูก เพราะ
การที่ลูกสวมใส่เสื้อผ้าสะอาดตลอด หมายถึงลูกต้องไม่ต้องไปเล่นหรือไม่ทำอะไร ซึ่งจะไม่ส่งผลดีต่อพัฒนาการของลูก ควรหาเสื้อผ้าที่ราคาไม่แพงนัก ซักง่าย ทำความสะอาดไต้ง่ายมาให้
ลูกใส่ เมื่อลูกทำเลอะจะได้ไม่เสียดายมาก

ทักษะของเด็กวัยนี้
กินวันละ 3 มื้อ สามารถถือแก้วน้ำดื่มได้เอง ใช้ช้อนตักอาหารได้เองโดยไม่ต้องช่วย ชอบตักอาหารกินเอง แต่มักจะละเลงไปทั่วใบหน้า ผ้ากันเปื้อน และโต๊ะที่นั่ง

เด็กวัย 15 เดือน
พัฒนาการของเด็กอายุ 15 เดือน มักติดใจกับรสอาหารบางรสและมักติดรสอาหารดังกล่าวไปเกือบตลอดชีวิต ถ้าหากจะกระตุ้นทางประสาทด้านการรับรสของลูกเพื่อให้ลูกรู้จักอาหารรสชาติต่างๆ ควรระวังการ
ให้อาหารรสหวาน อย่างเช่น ทอฟฟี่ ลูกอม ขนมหวาน และของกินจุบจิบ เพราะเด็กมีแนวโน้มที่จะชอบของหวานอยู่แล้ว นอกจากนี้อุปนิสัยการกินของพ่อแม่ก็มีส่วนต่อการกินของลูก ถ้าพ่อแม่เป็นคนชอบกินจุบจิบ กินของหวาน ของที่ไม่ค่อยมีประโยชน์ ลูกก็จะมีแนวโน้มจะมีนิสัยชอบกินของเหล่านั้นได้ง่ายเช่นกัน พ่อแม่ต้องเข้าใจ และเลือกเมนูสำหรับเด็กให้ถูกกับช่วงวัย

ทักษะของเด็กวัยนี้
พูดตามคำของ่ายๆ ได้ เช่น ขอขนม เอาน้ำ ถือแก้วน้ำกินเองได้หกเพียงเล็กน้อย ใช้ช้อน
ตักข้าวกินเองได้แต่หกบ้าง บางคนเลิกดูดขวดนมแล้ว แสดงออกให้รู้ว่าต้องการอาหารเพิ่ม โดยการชี้นิ้วหรือส่งเสียงบอกให้รู้

7/13/2553

โจ๊กใบตำลึง

โจ๊กใบตำลึง

ตำลึงนั้นมีประโยชน์มากมาย คุณค่าทางด้านโภชนาการ ยอดของตำลึงใช้ปรุงอาหารได้ ในตำลึง 100 กรัม ประกอบไปด้วยโปรตีน 3.3 กรัม วิตามินบี1 0.17 มิลลิกรัม แคลเซียม 126 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม ไนอาซีน 1.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม กากใยอาหาร 2.2 กรัม และเบต้าแคโรทีนสูงถึง 699.88 ไมโครกรัม มากกว่าฟักทองและมันเทศซึ่งมีเบต้าแคโรทีนเพียง 225 และ 175 ไมโครกรัม ตามลำดับต่อปริมาณ 100 กรัม เท่ากัน ดังนั้นเราควรนำยอดอ่อนของใบตำลึงมาทำเป็นเมนูสำหรับลูกรัก เพื่อให้ได้รับวิตามิน ที่จำเป็นต่อร่างกาย อีกทั้งยังช่วยระบบขับถ่ายของลูกให้เป็นปกติ วันนี้จึงขอเสนอเมนูสำหรับเด็ก นั่นคือ

เมนูโจ๊กใบตำลึง


ส่วนผสม
. ข้าวตุ๋น
. ใบตำลึงอ่อนสับละเอียตเอาแต่ส่วนใบ
. ไข่แดงต้มสุก
. น้ำซุปกระดูกหมูหรีอโครงไก่(กรองดีๆอย่าให้มีกระดูกปนมา)

วิธีทำ
. ต้มน้ำซุปให้เดือด จากนั้นใส่ข้าวตุ๋นลงไป ตามด้วยไข่แดง
. เคี่ยวขาวตุ๋นกับไข่แตงจนเป็นเนื้อ เดียวกัน หมั่นคนเรื่อยอย่าให้ไหม้
. ใส่ใบตำลึงอ่อนสับละเอียด เคี่ยวจนสุกนิ่ม
.พร้อมเสิร์ฟให้ลูกน้อย

7/06/2553

อาหารกับพัฒนาการของเด็กในแต่ละวัย

อาหารเด็ก มีความสำคัญต่อพัฒนาการของเด็กโดยแต่ละช่วงของวัย ต้องการอาหารที่แตกต่างกันออกไป
หลังขวบปีแรกขึ้นไปลูกน้อยก้าวเข้าสูู่วัยเตาะแตะ อัตราการ เจริญูเติบโตเริ่มลดลง ความปรารถนา ความสนใจ และความอยากรู้ อยากเห็นเกี่ยวกับอาหารจงชะลอตามไปค้วย ช่วงวัยนี้ลูกจะชอบเติน
ชอบเคลื่อนไหวไปมาอยู่เกือบตลอดเวลา อีกทั้งยังมีความเป็น ตัวของตัวเอง และชอบที่จะแสดงความรู้สึกปฏิเสธกับการถูกบังคับ

เด็กวัย 12 เดือน
เด็กวัยนี้ จะสามารถกินอาหารแบบผู้ใหญ่ได้ตั้งแต่อายุประมาณ 1 ปี แต่อาหารนั้นควรสุกนิ่มพอควร และมีขนาดเหมาะกับความสามารถในการเคี้ยว ความสะดวกในการตักเข้าปาก จึงควรให้ลูกได้กินอาหารให้สอดคล้องกับพัฒนาการ ไม่ควรให้ลูกกินอาหารบดหรือสับละเอียดเหมือนช่วงที่ผ่านมาเหมือนเดิม ช่วงนี้แคลอรี่ ในร่างกายลูกถูกเผาผลาญอย่างหนักเพราะลูกทำกิจกรรมได้มากขึ้น มีอิสระที่จะเดินไปมาได้มากขึ้น น้ำหนักไม่เพิ่มขึ้นเหมือนก่อน อาจลดลงไต้ทั้งที่ยังกินอาหารได้ตามปกติ วัยนี้ยังชอบปฏิเสธและทำตัวเหมือนคนมีหลักเกณณ์ชอบถือสิทธิ์ที่จะทำสิ่งใดต่างจากคนอื่น คุณแม่จึงไม่ควรกะเกณฑ์ให้ลูกกินให้ครบตามกำหนดทั้ง 3 มื้อ แต่สิ่งที่ควรทำ คือ พยายาม
หาอาหารที่มีประโยชน์สูงสุตมาชดเชยให้ลูกแทน

ทักษะของเด็กในวัยนี้
เด็กวัยนี้สามารถหยิบอาหารที่เป็นชิ้นเล็กๆป้อนตัวเองได้ ถือขวดนม และดูดจากขวดนมได้เอง
ดื่มจากถ้วยได้เอง แต่จะหกบ้าง ใช้ช้อนไต้ แม้ส่วนใหญ่จะทำหกไปก็ตาม เมนูสำหรับเด็กวัยนี้จึงต้องสอดคล้องกับพัฒนาการของลูกน้อย